สิ่งแรกสุด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับคนทุกคนที่มีความรู้สึกเกี่ยวกับความรัก
คือ เมื่อพบคนบางคนเป็นครั้งแรก อาจเป็นรอยยิ้มหรือใบหน้าที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น
หัวใจเต้นโครมคราม เลือดสูบฉีดแรงเกิดอาการร้อนๆ หนาวๆ และบางคนก็ถึงขนาดเหงื่อซึม
อาการเช่นนี้เป็นอาการของคนตกหลุมรัก และบ่อยๆ ก็เข้าใจกันว่า
อธิบายไม่ได้หรือไม่ต้องการคำตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นว่า
ทำไมรอยยิ้มใบหน้าของคนคนหนึ่งจึงทำให้คนอีกคนหนึ่งเกิดอาการดังกล่าว
แต่ไม่ทำให้คนอีกคนหนึ่ง เกิดอาการแบบเดียวกัน
สำหรับอาการคนตกหลุมรักเช่นนี้
วันนี้วิทยาศาสตร์อธิบายได้แล้วว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร!
คำตอบชี้ไปที่ปัจจัยสำคัญที่สุด 2 อย่างคือ สมอง กับสารเคมี
บางชนิดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกเรื่องความรัก
จุดศูนย์กลางคือ สมอง ที่ถูกกระตุ้นอย่างแรง ด้านสารเคมีบางชนิดในสมองที่ถูกผลิตขึ้นมาจากชนวนแรกสุด
ได้แก่ ประสาทการมองเห็น คือ ตา ในทันทีที่สายตาประสบกับรอยยิ้ม
หรือใบหน้าของคนพิเศษนั้น สัญญาณจากประสาทการมองเห็น ก็ถูกส่งไปกระตุ้นสมอง
ส่วนนั้นผลิตสารเคมีเกี่ยวกับความรู้สึกพิเศษ คือ สารเคมีจำพวกแอมฟีตามีน (Amphetamine) โดนเฉพาะอย่างยิ่ง เซนีลเอททีลามีน (Phenylethylamine)
หรือพีอีเอ (PEA) สิ่งที่เกิดตามขึ้นมาทันทีก็คือ อาการตื่นตัวของสมอง
ส่งผลต่อระบบเกี่ยวกับประสาทและการสูบฉีดเลือด หัวใจจึงเต้นโครมคราม ตัวร้อนเย็น
วูบวาบ บางคนก็เกิดอาการหน้าแดงอย่างไม่รู้ตัว
แล้วทำไม รอยยิ้ม ใบหน้าของคนๆ เดียวกันที่ทำให้คนๆ หนึ่ง ตื่นตัว
แต่กับอีกคนหนึ่ง ไม่รู้สึกอะไรเลยล่ะ?
ยังไม่มีคำตอบชัดเจนทางวิทยาศาสตร์
แต่มีคำตอบที่อาจไม่ได้บอกอะไรเพิ่มพิเศษนัก คือ
มันเป็นเรื่องรสนิยมหรือความชอบเฉพาะคน ทำให้บางคนเกิดความรู้สึกพิเศษเฉพาะกับ
รอยยิ้ม ใบหน้า แบบหนึ่งเท่านั้น
จากความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นสมองให้ผลิตสารพิเศษบางอย่าง
เมื่อคนบางคนได้พบกับคนบางคนที่ ถูกตา ต้องใจ ก็ทำให้วิทยาศาสตร์สามารถโยงไปถึง
บทบาทของช็อกโกแลตต่อเนื่องความรักได้ว่า ความเชื่อเรื่องบทบาทของช็อกโกแลต ในฐานะเป็นอาหารกระตุ้นพลัง
หรือความรู้สึกทางเพศที่เชื่อกันต่อ ๆ มานั้น มีมูลความจริงระดับหนึ่ง กล่าวคือ
ในช็อกโกแลต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช็อกโกแลตดำ (Dark Chocolate) มีสารเคมีหลายชนิด แต่ชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากด้วยคือพีอีเอ นั้นเอง
บทบาทของช็อกโกแลตต่อความรู้สึกเรื่องความรัก
อย่างเป็นวิทยาศาสตร์แล้ว
เป็นเพียงอาหารกระตุ้นความรู้สึกทางเพศเท่านั้น ไม่มีผลระยะยาวดังเช่น
กรณีของ คนพิเศษ ที่จะยืนยาวกว่า
เพราะกรณีของคนพิเศษการผลิตสารพีอีเอในสมองจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้จะไม่รุนแรงเท่าครั้งแรกๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า
สารพีอีเอในช็อกโกแลตจะถูกย่อยหมดไป
โดยมิได้มีผลไปช่วยกระตุ้นการผลิตสารพีอีเอในสมอง ยกเว้นถ้าช็อกโกแล็ตนั้นมาจาก
คนพิเศษ คนนั้นด้วย ก็จะเกิดพลังเสริมจากทั้งพีอีเอในช็อกโกแลตและจากการผลิตในสมอง
สารเคมีพีอีเอที่ผลิตในสมองทำให้อาการตื่นเต้นของคนตกหลุมรัก
แต่หลังจากเวลาผ่านไปนานเป็นปี ๆ สมองจะผลิตพีอีเอออกมาน้อยลง
ส่งผลให้เกิดความรู้สึกชินเย็ชาขึ้น โดนเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ชาย
และเกิดความเสี่ยงที่ คู่รัก จะเปลี่ยนไปเป็น คู่ร้าง ง่ายขึ้น...
แต่สำหรบคนบางคนที่ คู่รัก
ไม่เปลี่ยนเป็น คู่ร้าง ง่าย ๆ วงการวิทยาศาสตร์พบว่า มีสารเคมีอีกชนิด
เข้ามามีบทบาทด้วยคือ เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งผลิตโดยสมองมีผลคล่ายฝิ่นในการต่อสู้กับความเจ็บปวด
แต่สำหรับเรื่องความรัก สิ่งที่ดูจะเกิดขึ้นคือ หลังจากที่สารพีอีเอ
ทำให้คนมีความรู้สึกตื่นเต้นเมื่อพบคนพิเศษ
แต่เอ็นดอร์ฟินมีบทบาททำให้คนมีความรู้สึกที่ลึกซื้ง
กลายเป็นความผูกพันที่ถาวรขึ้นได้ ระหว่างชายกับหญิง
ส่วนช็อกโกแลต
ถึงแม้จะไม่มีเอ็นดอร์ฟิน แต่เมื่อบวกพีอีเอจากช็อกโกแลตกับพลังจากเอ็นดอร์ฟินของสมอง
ก็สามารถจะมีผลทำให้ความรักของคนสองคนยังคงความตื่นเต้น(ถึงแม้จะไม่เท่าระยะแรกๆ
ที่พบกัน) ต่อไป แต่มีความผูกพันกลายเป็นพันธะหัวใจที่ยืนยาวได้อย่างดี
ช็อกโกแลต
อาจถือได้ว่าเป็นของขวัญที่เชื่อมโยงวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ แต่อย่าลืมว่า...ความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มีเฉพาะความรักแบบหนุ่มสาว หรือ Romantic Love เท่านั้นนะคะ ความรักในครอบครัว
ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลที่หวังดีกับเรา
ก็เป็นความรักที่บริสุทธิ์เช่นกัน....เพราะความรักคือสิ่งสวยงาม happy valentine's
day
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น